โรครองช้ำ คืออะไร การรักษาและป้องกันโรครองช้ำ

0
9779
โรครองช้ำ

เท้าเป็นอวัยวะที่ไม่ปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกใช้งานตลอดเวลาสำหรับใครหลายคน ในกิจวัตรประจำวัน การใช้งานที่มากเกินไป การยืนเป็นเวลานานๆ จนทำให้เกิดอาการเจ็บที่ส้นเท้าและเจ็บจี๊ดขณะเดินหรือ หลังจากตื่นนอน ระดับความปวดรุนแรงขึ้นลุกลามไปทั่วฝ่าเท้า เราเรียกว่า โรครองซ้ำ หรือทางการแพทย์เรียกว่า โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัยดังนี้

  • เท้ารับน้ำหนักนาน เช่น การยืนหรือเดินเป็นเวลานาน
  • น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือไม่สมสัดส่วน
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เลือกรองเท้าไม่เหมาะสมกับประเภทของกีฬา
  • เอ็นร้อยหวายยึด การทำงานของส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • โครงสร้างร่างกาย  เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป

สำหรับการรักษาโรครองช้ำ หรือโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำได้ 2 วิธีโดย

  1. การรักษาวิธีทางการแพทย์
  2. การรักษาด้วยตัวเอง

การรักษารคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ โดยวิธีทางการแพทย์

  • รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (arch support) และ/หรืออุปกรณ์รองรับส้นเท้า (heel cushion)
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ ระยะเวลารักษา 18 เดือน 98% ของผู้ที่ได้รับการรักษาวิธีนี้

heel bone - 001

การรักษา โรครองช้ำ หรือโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยตัวเอง

  • หลีกเสี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้เท้านาน ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาบนพื้นแข็ง
  • ควรสวมใส่รองเท้าส้นนิ่มขณะออกกำลังกาย โดยอาจใช้แผ่นรองเสริมอุ้ง
  • ทุกครั้งก่อนและหลังออกกำลังกายควรยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
  • ควรใส่รองเท้าที่มีพื้นนุ่มส้นสูงกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย อย่าเกิน 1-2 นิ้ว และไม่ควรใส่รองเท้าที่แบนราบเสมอกัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป
  • ใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า ประคบด้วยความร้อน หรือความเย็น หรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้าเพื่อรักษาการอักเสบของเอ็น

นอกจากนี้ยังมีวิธีการนวดบรรเทาอาการโรครองช้ำ ดังนี้

  1. เริ่มจากการท่านอนหงายโดยแบะขาออก ใช้นิ้วโป้งหรือศอกกดนวดเป็นรูปวงกลมบริเวณรอบๆ ข้อเท้าด้านในรวมถึงข้อเท้าด้านนอก
  2. การนวดขาด้านล่างเริ่มจากการนวดเน้นส่วนตาตุ่มและเอ็นร้อยหวาย หลังจากนั้นให้นวดจากเส้นเหนือฝ่าเท้าไปยังน่องล่าง นวดทั้งบริเวณนอกและในของแนวขาด้านล่าง
  3. การนวดขาด้านบนโดยให้นั่งท่าพับเพียบหันหน้าเข้าคนนวดใช้ศอกกดเส้นขาด้านในเส้น1แนวหัวเข่าขึ้นไปถึงข้อพับสะโพก
  4. การนวดกลางขา คือส่วนจากหน้าเข่าถึงข้อพับสะโพก เริ่มนวดจากแนวด้านอกนวดไปจนถึงสะโพก จำนวน 3-5
  5. การนวดขาด้านนอก ใช้วิธีหาส่วนที่แข็งใช้นิ้วกดและนวด จนบริเวณนั้นนิ่ม
  6. ด้านหลังเริ่มท่านวดด้วยการนอนคว่ำกดและนวดขาจนนิ่มจากนั้นยกงอเข่าขึ้นมาหาเส้นแข็งเหนือพับเข่าใกล้ริมขาด้านนอก เน้นการกดและนวดบริเวณที่แข็ง ห้ามนวดแรงเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบได้
  7. รอบสะโพก และบริเวณขอบกระดูกก้นกบ ค่อยๆหาจุดแข็งโดยให้นอนท่าตะแคง กดและนวดจนกว่าจะนิ่มเช่นเดียวกัน
  8. การนวดส้นเท้าให้เริ่มจากการนอนคว่ำคนนวดนั่งปลายเท้าใช้ศอกหรือนิ้วโป้งกดลงที่ส้นเท้าหากพบว่าเป็นจุดแข็งหรือไม่เรียบหรือนวดจนกว่าจะส้นเท้าเรียบ
  9. สุดท้ายให้นอนหงายโดยนอนตั้งเข่าใช้หมอนรองใต้ก้นให้คนนวดใช้ฝ่ามือทั้ง2ข้างกดชิดกระดูกหัวเหน่าแล้วโกยเข้าหาสะดือ จำนวน 3 รอบ

ยืดเส้นยืดสายโรครองช้ำ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : พิศิษฐ เบญจมงคลวารี โครงการฟื้นฟูการนวดไทย มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและคณะ

ทราบแล้วหรือยังคะว่า โรครองช้ำคืออะไร  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือยืนนานๆ การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ล้วนส่งผลทำให้อาการนั้นมีความรุนแรงมากขึ้น จากที่กล่าวไปข้างต้นวิธีการรักษามีอยู่ 2 วิธี คือ วิธีทางการแพทย์  กับ การรักษาด้วยตัวเอง อาการโรครองช้ำสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และที่สำคัญไม่เสียจ่ายใช้จ่ายด้วยค่ะ เพียงปฏิบัติตามวิธีและต่อเนื่องแค่นี้โรครองช้ำหรือโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบก็หายขาดแล้วค่ะ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : www.nhs.uk , ww.webmd.com , www.aofas.org

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here