สาเหตุของมือเท้าบวมระหว่างการตั้งครรภ์ และการดูแลรักษา

0
2967
เท้าบวม

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับสาเหตุของมือเท้าบวมระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนแปรปรวน ซึ่งทำให้มีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง การเพิ่มขึ้นของเลือดทั้งหมดในระบบหมุนเวียนเพราะแรงกดที่มีต่อหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น ร่างกายเกิดการกักของเหลวไว้มากกว่าปกติ จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการท้องอืด เท้าบวม ขาบวม หรือมือบวมได้

อาการบวมเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ร่างกายกักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็ทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดจากบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะรู้สึกบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้า หากต้องยืนหรือนั่งนานๆ บางคนอาจจะรู้สึกว่าแหวนที่สวมตามนิ้วมือคับ หรือมีอาการหน้าบวมร่วมด้วย อาการบวมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มักเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวันเมื่ออากาศเปลี่ยนทั้งร้อนและเย็น อาการบวมก็จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวยิ่งจะทำให้คุณแม่บวมได้มากขึ้น บางคนอาการอาจเริ่มจากเท้าบวมจากนั้นมือบวมและชาก็ตามมา และมีอาการหน้าบวมหลังจากตื่นนอน

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถรับมือกับอาการบวมด้วยวิธีง่ายๆ คือ

  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ และพยายามนั่งพักให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ
  • หมั่นตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ เพื่อตรวจคัดกรองสาเหตุอื่นๆ ของอาการบวม
  • การนอนตะแคง ช่วยลดน้ำหนักที่กดทับกระดูกสันหลังได้ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้ายเป็นท่านอนที่เหมาะสมที่สุด
  • พยายามยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ หากอยู่ที่ทำงาน คุณแม่ควรหามานั่งเตี้ยๆ หรือกล่องมาหนุนให้ขาสูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างและหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นตลอดจนยืดขาโดยให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน แล้วค่อยๆ เหยียดปลายเท้าเพื่อให้กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย
  • ไม่ควรใส่ถุงเท้าที่รัดแน่นเกินไป และควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและรองรับการขยายตัวของเท้าที่ใหญ่ขึ้นของคุณแม่
  • ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำเปล่า เพราะหากคุณแม่ดื่มน้ำน้อย ร่างกายจะพยายามกักเก็บน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณแม่ยิ่งบวมขึ้น
  • ไม่กินเค็มเค็ม เพราะเกลือหรือโซเดียมเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบวม
  • แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมที่เท้าได้
  • เวลานอน ใช้ผ้าหนุนให้เท้าสูงขึ้น เพื่อเวลาพลิกตัวปลายเท้าก็ยังคงอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ

เท้าบวม

แม้ว่าอาการบวมนี้ อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกกังวลใจ แต่โดยทั่วไปแล้วอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อย แต่หากบวมมากเกินไป บางครั้งอาจเป็นเพราะความดันเลือดสูงขึ้น จึงควรหมั่นสังเกตอาการและไปปรึกษาคุณหมอ หากคุณรู้สึกว่าอาการบวมนั้นผิดปกติ เพราะอาจเป็นอาการแสดงของภาวะครรภ์เป็นพิษค่ะ

แต่ถ้าหากคุณแม่พบอาการผิดปกติเหล่านี้ แอดมินแนะนำว่าควรพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติมจะดีที่สุดนะคะ

• เกิดอาการบวมตามใบหน้า หรือบริเวณรอบดวงตา
• เกิดพร้อมน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 1.8 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์)
• เกิดพร้อมอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
• เกิดพร้อมอาการสายตาผิดปกติ, มองเห็นภาพซ้อน, ภาพเบลอ, เห็นจุดแสง, ตาไวต่อแสง หรือมองไม่เห็นในบางครั้ง
• เกิดพร้อมอาการปวดช่วงท้องด้านบนอย่างรุนแรง หรือกดเจ็บ
• เกิดพร้อมอาการคลื่นไส้/อาเจียน

หากเกิดอาการบวมน้ำร่วมกับอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับทารกและตัวคุณแม่เองได้

สุดท้ายนี้ถ้าหากคุณแม่ต้องเดินบ่อยและมีอาการปวดเท้าหรือเจ็บเท้า ก็สามารถใช้แผ่นรองเท้าของ siamfootcare.com ได้นะ นุ่ม สบายค่ะ ^^

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : www.enfababy.com, www.mamaexpert.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here