ปวดส้นเท้า ทำยังไงดี ? วิธีรักษาอาการปวดส้นเท้า

0
14508
ปวดส้นเท้า

ด้วยความสุขของหลายๆคนที่เติมเต็มกำไรชีวิตด้วยการเดินทาง เท้าของเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายๆคนพบกับความสุขเหล่านั้น วิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้า ก็เป็นอีกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความสุขของเราได้เช่นกัน เท้าถือว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่เป็นจุดรวมเส้นประสาททุกส่วนของร่างกาย หากวันใดที่เท้าของคุณได้รับอุบัติเหตุหรือติดเชื้อโรคบางชนิดขึ้นมาก ก็จะทำให้คุณนั้นไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันที่มีความสุขเหมือนเดิมได้ การดูแลรักษาเท้าของเราเองนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคุณเอง

ปวดส้นเท้า

“วิธีรักษาและป้องกันอาการปวดส้นเท้าที่ถูกวิธี ก็เป็นอีกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความสุขของเราได้เช่นกัน”

อาการเจ็บของเท้าเรานั้นมีหลายสาเหตุด้วยบ้างก็เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าอาการจะเลือดตกยางออกเพียงเล็กๆน้อย หากใครที่ไม่รู้จักวิธีรักษาวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้าให้ดีก็จะเกิดเป็นอันตรายแก่สุขภาพของคุณได้ ด้วยส่วนที่อยู่ต่ำที่สุดและจะต้องอยู่ใกล้ชิดเชื้อโรคที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาบาดแผลหรืออาการเจ็บปวด หายให้ไว้ที่สุดก็จะเกิดเป็นหนองและลุกลามเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา อย่างเช่น โรคพังพืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือโรครองช้ำเป็นโรคที่พบเจอบ่อยมาก โรคปวดส้นเท้านี้เกิดจากการบาดเจ็บทีละเล็กทีละน้อยของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้ามักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น ในช่วงอายุระหว่าง 40-70 ปี  ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

heel bone

  1. มีจุดกดเจ็บและปวด ในบริเวณส้นเท้าฝั่งด้านในใกล้ๆอุ้งเท้า ปวดส้นเท้าและมีอาการระบม ปวดชาไปทั่วทั้งส้นเท้า
  2. ปวดส้นเท้า แบบรู้สึก ปวดจี๊ด เหมือนมีหนองอยู่ที่ส้นเท้าไม่สามารถลงน้ำหนักที่ส้นเท้าและเท้าได้เต็มที่ในระหว่างเดิน
  3. อาการปวดส้นเท้าจะเป็นในมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้า เมื่อลงจากเตียงก้าวแรกก็จะมีอาการปวดมาก แต่เมื่อเดินสักระยะอาการปวดจะดีขึ้น
  4. มีอาการบวมหรือแดงของผิวหนังใต้ฝ่าเท้า
  5. มีอาการปวดร้าวตามแนวพังผืดใต้ฝ่าเท้าไปจนถึงจุดกดเจ็บและส้นเท้าเมื่อกระดกนิ้วเท้าขึ้น

สำหรับผู้ที่เสียงเป็นโรคนี้มากที่สุดคือคนที่มีอุ้งเท้าโก่งมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอุ้งเท้านั้นได้สัมผัสพื้นเป็นเต็มๆ โดยที่ไม่กระจายน้ำหนักไปส่วนอื่นของฝ่าเท้า จึงทำให้โอกาสที่จะเป็นบาดแผลของคนที่มีอุ้งเท้าโก่งนั้นมีมากกว่าคนที่มีอุ้งเท้าธรรมดาอีกด้วย นอกจากนี้ผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนมากเกินไปก็มีโอกาสเป็นโรคนี้เช่นกัน เนื่องจากเอ็นและพังผืดใต้ฝ่าเท้าถูกยืดมากผิดปกติ เป็นผลให้เอ็นเกิดการหย่อนยานและไม่สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการเดินได้ดี นอกจากนี้ผู้ที่มีเท้าแบนจะมีแนวการเดินที่เท้าลงน้ำหนักทางฝั่งด้านในมากกว่าปกติและอุ้งเท้าที่แบนราบลงทำให้จุดเกาะเอ็นที่ บริเวณส้นเท้าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจเกิดการฉีกขาดทีละเล็กทีละน้อยและทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ด้วย ด้วยแรงกดทับก็เป็นส่วนให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายผู้ที่เป็นโรคอ้วนก็เป็นอีกหนึ่งผู้ป่วยที่มักจะเกิดเป็นโรคพังพืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงควรหันมาใส่ใจ วิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้า ของคุณเสียใหม่

ปวดส้นเท้า

การใส่รองเท้าไม่เหมาะสมเป็นอีกหนึ่งทำให้เกิดอาหารป่วยเป็นโรคต่างๆของเท้า เพราะรองเท้าจะเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับเท้า แต่ถ้าหากใครที่สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้าหรือการใช้งาน รองเท้าก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่จะทำร้ายเท้าของเราได้เช่นกัน อย่างเช่น รองเท้าส้นสูงของผู้หญิง หากใครที่สวมใส่ไม่ถูกกับการใช้งานก็มักจะทำให้เท้าของเรานั้นเกิดอุบัติเหตุ จนทำให้ข้อเท้าของเราพลิกและได้รับการบาดเจ็บได้ สำหรับใครที่มักสวมใส่รองเท้าเล็กเกินไปก็มักจะทำให้เท้าของคุณนั้นระบมและเกิดทำให้เล็บขบได้ ซึ่งอาการเล็บขบนั้นทำให้เท้าของเราเกิดการเจ็บปวดในระยะยาวได้เช่นกัน การเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับงาน และการไม่ใส่ใจวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้า มักจะเกิดผลเสียดังนี้

  1. หากใครที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำจะทำให้น้ำหนักในการเดินกระแทกที่บริเวณส้นเท้ามากกว่าปกติ และหากส่วนปลายของรองเท้าบีบมากเกินไปก็จะทำให้รองเท้ากัดเท้าจนเป็นแผลได้เช่นกัน
  2. ผู้ที่ใส่รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าแข็งมากจนเกินไป จะทำให้เกิดแรงกระแทกกลับในการเดินที่บริเวณส้นเท้าเพิ่มมากกว่าพื้นรองเท้าที่มีความยืดหยุ่นตัวดี นอกจากนี้พื้นรองเท้าที่อ่อนนุ่มยังช่วยรักษาผิวตรงส่วนของส้นเท้าแตกได้ดีอีกด้วย
  3. ผู้ที่ใส่รองเท้าแบนราบเรียบ จะทำให้กระดูกส้นเท้าเกิดการกระแทกพื้นมากในการเดินเพราะ ร้องเท้าไม่ได้ช่วยถ่ายน้ำหนักตัวในการเดินและการลดกระแทกได้
  4. ผู้ที่ใส่รองเท้าเล็กมากจนเกิดไป จะทำให้กระดูกและเอ็นใต้ฝ่าเท้าไม่สามารถยืดขยายได้เต็มที่ ทำให้เกิดการบีบรัด และ เกิดการบาดเจ็บหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดแผลติดเชื้อได้อีกด้วย

ปวดเท้า

สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้าหรือมีอาการปวดส้นเท้าหรือรู้สึกว่าเจ็บเท้าโดยไม่มีสาเหตุ โดยพังฝืดเท้าของเรานั้นก็ถูกใช้งานเหมือนปกติทุกๆวัน แต่มาวันนี้เท้าของเรารู้สึกเมื่อยและเจ็บมากกว่าปกติ การรักษาตรงบริเวณส่วนเท้านั้นมีวิธีรักษาเบื้องต้นได้ง่าย โดยก่อนอื่นเลยคือการทำความสะอาดเท้าเสียก่อนจากนั้นก็เริ่มนำเท้าไปแช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 60-40 องศา ประมาณ 5-10 นาที

ถ้าหากคิดว่าน้ำร้อนเกินไปก็สามารถเติมน้ำเย็นลงไปได้เล็กน้อย จากนั้นก็นำเท้าของเรานั้นมาเช็ดให้แห้งและฉะโลมด้วยน้ำมันมะกอก จะช่วยให้ผิวเท้าที่แห้งหลังจากแช่น้ำอุ่นกลับมาชุ่มชื่น พร้อมกับการนวดที่เริ่มต้นจากหลังเท้า ข้อเท้า และลำดับสุดท้ายให้นวดลงไปที่ฝ่าเท้าของเราเอง ควรให้นิ้วมือหมุนนวดไปรอบๆเท้าว่าเกิดเป็นตาปลาหรือไตแข็งบริเวณเท้าและส้นเท้าหรือไม่

หากเกิดไตแข็งเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้มือหมุนด้วยน้ำมันมะกอกประมาณ 1 – 2 นาทีในจุดนั้น จะสังเกตว่าส่วนที่เป็นไตแข็งจะค่อยดีขึ้น คุณสามารถทำแบบนี้ได้ทุกๆวันก่อนนอน สำหรับการตื่นเช้านั้นหากใครที่รักสุขภาพหรือใครที่ต้องหาวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้า สามารถรักษาเท้าด้วยการตึงพังฝืดเท้า โดยที่ตื่นเช้ามานั้นอย่างพึ่งลงจากเตียง ให้คุณเหยียดเท้าไปข้างหน้าจากนั้นใช้ผ้าหรือเชือกดังปลายเท้าเข้ามาหาตัวเรา การดึงนี้เราจะต้องแน่ใช้ว่าฝ่าเท้าของเราตึงอยู่ตลอดในระยะเวลา 2 นาทีก็สามารถลงจากเตียงไปทำกิจวัตรประจำวันได้ การตึงฝ่าเท้านี้จะช่วยให้เอ็ดและหนังพังผืดได้รับการยืดอย่างเต็มที่เพื่อพร้อมที่จะรับแรงกระแทบที่มีผลจากการเดินหรือวิ่งในระหว่างวัน

ผู้ป่วยที่มักจะเจ็บเท้าหรือมีการการที่รุนแรงมากกว่าปกติแต่ว่ายังไม่รู้วิธีวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้าก็สามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเสียก่อนก็ได้ เพราะว่าแพทย์จะมีวิธีการรักษาดังนี้

  1. การรับประทานยาต้านการอักเสบ (NSAIDs)
  2. การลดน้ำหนักตัวในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก
  3. การทำกายภาพบำบัด ด้วยวิธี การยืดกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวาย และ เท้า โดยทำวันละ 2 รอบ รอบละ 10-15 ครั้ง
  4. การฉีดยาแก้ปวดที่บริเวณส้นเท้าตรงจุดกดเจ็บ วิธีนี้สามารถลดอาการปวดได้ดี แต่ไม่ควรทำมากกว่า 2-3 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เอ็นขาด
  5. วิธีการทำกายภาพบำบัดโดยการการบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเส้นเอ็นฝ่าเท้า โดยควรทำ อย่างน้อย 3 รอบต่อวันไม่ว่าจะใช้วิธี ยืนหรือนั่งแล้วใช้อุ้งเท้าเหยียบวัสดุกลม ๆ เช่น ลูกเทนนิส ลูกปิงปองหรือกะลา การบริหารนี้ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าและกล้ามเนื้อในฝ่าเท้าไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ง่ายๆ หรือเพียงแค่ปฏิบัติตามวิธีวิธีรักษา และป้องกันอาการปวดส้นเท้า ให้ถูกต้องครบถ้วน คุณก็จะมีสุขภาพเท้าที่ดีแล้วละค่ะ

วิธีนวดลดอาการปวดส้นเท้า

https://www.youtube.com/watch?v=u34CgWXuLBE

ขอบคุณ : www.foothealthfacts.org

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here