Cool Down หลังออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

0
3122
Cool down

ระหว่างการออกกำลังกาย เส้นเลือดจะมีการสูบฉีดหัวใจเต้นเร็วขึ้น หากหยุดออกกำลังกายกะทันหันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดมากขึ้น กล้ามเนื้อไม่หดตัวเหมือนเดิม เลือดที่สูบฉีดมายังหัวใจจะน้อยลงแต่หัวใจเต้นเท่าเดิม ทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อาจทำให้หมดสติได้

การหยุดออกกำลังกายกะทันหันนั้นทำไมถึงเป็นอันตราย คอลัมน์หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพมีคำตอบมาฝากดังนี้

ระหว่างการออกกำลังกาย เส้นเลือดจะมีการสูบฉีดหัวใจเต้นเร็วขึ้น หากหยุดออกกำลังกายกะทันหันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดมากขึ้น กล้ามเนื้อไม่หดตัวเหมือนเดิม เลือดที่สูบฉีดมายังหัวใจจะน้อยลงแต่หัวใจเต้นเท่าเดิม ทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อาจทำให้หมดสติได้ ส่วนการหยุดออกกำลังกายที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีการ Cool Down ก่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานหนักขณะออกกำลังกายได้ค่อย ๆ ทำงานลดลง จากนั้นร่างกายจะรักษาสมดุลเอาไว้

การออกกำลังกายที่ถูกต้องประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่

1. Warm Up เริ่มด้วยเดินหรือวิ่งเหยาะ (Jogging) ประมาณ 5-10 นาที ให้ร่างกายเตรียมพร้อม กล้ามเนื้อยืดตัวหดตัว

2. Stretching การยืดเหยียด อีกประมาณ 5-10 นาที เพื่อความพร้อมของเอ็น ข้อ และการไหลเวียนโลหิต ป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดจากการออกกำลังกาย

3. Cool Down ค่อย ๆ ลด หรือผ่อน คือการออกกำลังกายให้เบาลงทีละน้อย จนกระทั่งหายเหนื่อย ทั้งนี้ เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานหนักขณะออกกำลังกาย ได้ค่อย ๆ ทำงานน้อยลง

stretching-muscles-579122_1280

การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรคำนึงถึงอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยทั่วไปหัวใจคนเราเต้นสูงสุด 220 ครั้งต่อนาที ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอายุด้วย โดยสามารถคำนวณได้จาก 220 ลบด้วยอายุ แล้วผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราของหัวใจที่เต้นเร็วที่สุด และการออกกำลังกายที่ดีก็ไม่ควรเกิน 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของเรา เช่น ถ้าหากอายุ 20 ปี จะได้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็น 220 ลบ 20 เท่ากับ 200 ดังนั้น ไม่ควรออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็วเกิน 160 ครั้งต่อนาที

แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถนับจังหวะการเต้นของหัวใจตัวเองได้ ดังนั้น การออกกำลังกายที่ดีให้วัดว่า ระหว่างออกกำลังกายอยู่นั้นยังสามารถพูดกับคนข้าง ๆ ได้เป็นคำ ๆ อยู่หรือไม่ หากเสียงเริ่มสั่นหรือเริ่มพูดไม่เป็นคำ นั่นแสดงว่า ออกกำลังกายหักโหมเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บได้ แต่สำหรับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าใครที่มีโรคประจำตัวก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้ ก่อนออกกำลังกายจึงควรสำรวจตัวเองก่อนว่าร่างกายพร้อมหรือไม่.

ตัวอย่างการ Cool Down หลังออกกำลังกาย


……………………………….
อ.นพ.ธเนศ แก่นสาร

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก www.dailynews.co.th

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here